ในการเปิดโปรแกรม SketchUp ครั้งแรก (หลังจากติดตั้งโปรแกรม และเลือกแม่แบบ
ในหน้าต่าง Welcome แล้ว) จะพบกับหน้าต่างการทำงานโดยมีส่วนประกอบหลัก ดังนี้
1. แถบ Title Bar
แถบสำหรับแสดงชื่อไฟล์ที่กำลังทำงานอยู่ขณะนั้น โดยในการเปิดโปรแกรมหรือสร้างงานขึ้นมาใหม่
ชื่อไฟล์ในแถบไตเติ้ลบาร์จะแสดงเป็น Untitled จนกว่าจะมีการบันทึกและตั้งชื่อไฟล์
2. แถบ Menu Bar
แถบที่รวบรวมคำสั่งต่าง ๆ ในการทำงาน โดยจะแบ่งเป็น 8 หมวด ดังนี้
File : เป็นกลุ่มคำสั่งสำหรับจัดการกับไฟล์งาน เช่น การสร้างไฟล์งาน การบันทึก การนำเข้า/ส่งออก
การสั่งพิมพ์ เป็นต้น
Edit : เป็นกลุ่มคำสั่งสำหรับปรับแต่งแก้ไข เช่น การคัดลอก ลบ ซ่อน/แสดงโมเดล สร้าง Group/Component เป็นต้น
View : เป็นกลุ่มคำสั่งสำหรับจัดการในส่วนของพื้นที่ทำงาน เช่น ซ่อน/แสดงแถบเครื่องมือ แกนอ้างอิง
เงา หมอก การแสดงผลของเส้น การแสดงผลในส่วนของการแก้ไข Group/Component เป็นต้น
Camera : เป็นส่วนคำสั่งสำหรับจัดการในส่วนของมุมมอง ในการทำงาน เช่น การหมุน เลื่อน ย่อ/ขยาย เป็นต้น
Draw : เป็นกลุ่มคำสั่งสำหรับเลือกใช้เครื่องมือต่าง ๆ ในการวาดรูปทรง เช่น การวาดเส้นตรง เส้นโค้ง สี่เหลี่ยม วงกลม เป็นต้น
Tools : เป็นกลุ่มคำสั่งสำหรับเรียกใช้เครื่องมือต่าง ๆ ในการทำงาน เช่น ดัน/ดึง การหมุน/ย้ายโมเดล
การสร้างตัวอักษรสามมิติ การวัดขนาด เป็นต้น
Window : เป็นกลุ่มคำสั่งเกี่ยวกับการเรียกแสดงหน้าต่าง หรือไดอะล็อกบอกซ์ขึ้นมา
เพื่อใช้ร่วมในการทำงาน และปรับแต่งค่าต่าง ๆ ของโปรแกรม
Help : เป็นกลุ่มคำสั่งเกี่ยวกับคู่มือการแนะนำการใช้งานโปรแกรม ไปจนถึงการลงทะเบียน
และการตรวจสอบการอัพเดต
3. แถบ Tool Bar
เป็นแถบรวบรวมเครื่องมือสำคัญมักถูกเรียกใช้งาน โดยส่วนมากจะเป็นการทำงานกับโมเดล
และส่วนประกอบย่อยของโมเดล ดังนี้
4. แถบ Drawing Area (พื้นที่ทำงาน)
เป็นพื้นที่สำหรับทำงาน ซึ่งสามารถที่จะปรับเปลี่ยนมุมมองไปเป็นมุมมองต่าง ๆ ทั้งการทำงานในมุมมองแบบ 2D และ 3D โดยมุมมองแบบ 2D นั้นจะแบ่งออกเป็น ด้านบน ด้านหน้า ด้านขวา ด้านหลัง ด้านซ้าย และด้านล่าง และมุมมองแบบ 3D จะถูกเรียกว่า Iso (Isometric)
การทำงานในมุมมอง 2D และ 3D
เราสามารถปรับเปลี่ยนมุมมองได้โดยใช้เครื่องมือ ซึ่งสามารถปรับได้ 2 แบบ คือแบบ 2D และ 3D
5. แถบ Drawing Axes (แกนอ้างอิง)
คือเส้นแกนสำหรับอ้างอิงการทำงาน เพื่อให้การวาดรูปทรง และการสร้างแบบจำลองในทิศทางต่าง ๆ
เป็นไปอย่างถูกต้องและแม่นยำ โดยแกนอ้างอิงจะแบ่งเป็น 3 แกน ดังนี้
แทนแนวระนาบระดับจากพื้น โดยเส้นทึบ คือบริเวณที่อยู่สูงกว่าแนวระนาบ และเส้นประ
คือบริเวณที่อยู่ต่ำกว่าแนวระนาบ
จุดตัดกันระหว่างเส้นแกนทั้ง 3 เส้นจะถูกเรียกว่า Original Point หรือ จะเรียกว่าจุดศูนย์กลางของพื้นที่ทำงานก็ได้เช่นกัน โดยตำแหน่งของ Original Point จะมีค่า x, y, z เท่ากับ 0 โดยถ้าค่าตัวเลขเป็นบวก
จะอยู่ในทิศทางของเส้นทึบ และถ้าค่าเป็นลบจะอยู่ในทิศทางของเส้นจุดไข่ปลา
6. Status Bar (แถบสถานะ)
คือแถบแสดงสถานะต่าง ๆ ในการทำงาน โดยจะแสดงในส่วนการแนะนำการใช้งานเครื่องมือต่าง ๆ
จะอธิบายลักษณะการทำงานของเครื่องมือที่เราเลือกขณะทำงาน
เป็นตัวช่วยให้เข้าใจว่าเครื่องมือที่ใช้งานอยู่นั้นมีการใช้งานอย่างไร
7. แถบ Measurement Tool (เครื่องมือกำหนดขนาด)
Measurement มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า VCB (Value Control Box) เป็นเครื่องมือสำหรับกำหนดค่าต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นความยาว ขนาด องศา ระยะ ให้กับการใช้งานเครื่องมือต่าง ๆ ซึ่งจะช่วยให้การสร้างแบบจำลองมีความแม่นยำและได้สัดส่วนที่ถูกต้อง โดยรูปแบบการกำหนดค่าด้วย Measurement
นั้นจะใช้วิธีการพิมพ์ตัวเลขลงไปในขณะที่ใช้เครื่องมือแต่ละชนิดอยู่ โดยที่ไม่ต้องเอาเมาส์ไปคลิกที่ช่องกำหนดค่า เช่น เมื่อเราต้องการวาดรูปสี่เหลี่ยมขนาด 5 x 5 เมตร เราจะใช้เครื่องมือ Rectangle
วาดรูปสี่เหลี่ยม จากนั้นพิมพ์ค่าลงไปเป็น 5m, 5m หรือ 5,5 (ในกรณีที่กำหนดหน่วยวัดเป็นเมตร
ไม่จำเป็นที่จะต้องใส่หน่วยวัดต่อท้ายตัวเลข) แล้วกดปุ่ม Enter เราก็จะได้รูปสี่เหลี่ยม ขนาด 5X5 เมตร เป็นต้น